วิธีนี้ยังใช้ได้ดี แต่….
ตอนนี้มีวิธีที่ยั่งยืนกว่านี้ครับ โดยผมจะอัพเดทวีดีโอให้ใหม่เป็นปัจจุบัน และเนื้อหาจะอัพเดทตามนะครับ บทความนี้เขียนเมื่อปี 2018 ครับ ตอนนี้หลายอย่างง่ายขึ้นและเปลี่ยนไปครับ คอยติดตามหรือแอด @make2web มาสอบถามได้นะครับ
สาเหตุ Connection Timed Out / การเชื่อมต่อหมดเวลา
Connection Timed Out หลัก ๆ เกิดได้จากการที่เซิร์ฟเวอร์ประมวลผลไม่ไหวครับ เป็นผลมาจากปลั๊กอิน หรือธีมที่ทำงานหนักเกินไป PHP Memory ไม่พอหรือฟังค์ชั่นบางอย่างของธีมครับ
วิธีแก้ Connection Timed Out / การเชื่อมต่อหมดเวลา
ปิด Theme/Plugin ทั้งหมด

โดยเราจะเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ plugins และ/หรือ themes เป็นอย่างอื่นครับ (คำแนะนำผมให้ลบตัว s ข้างหลังออกตัวเดียวพอเพื่อกันสับสน) การกระทำนี้เป็นการปิดการใช้งานธีมหรือปลั๊กอินครับ โดยการที่เราเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ จะทำให้่ WordPress หาไฟล์ไม่เจอและปิดการใช้งาน theme/plugins ทั้งหมดโดยอัตโนมัติครับ เป็นการปิดทั้งหมดเลยนั่นเองแล้วมาไล่ดูกันว่าตัวไหนก่อปัญหา
ทีนี้ล็อกอินเข้ามาใน wp-admin แล้ว WordPress จะฟ้องว่าหา theme/plugins ไม่เจอและจะปิดการทำงานของมัน ทีนี้เราก็ใช้ ftp เปลี่ยนโฟลเดอร์ที่เราเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนกลับเหมือนเดิมครับ เปลี่ยนโฟลเดอร์ธีมกลับเป็น themes และปลั๊กอินเป็น plugins
ทีนี้ก็ไล่เปิดการใช้งานธีม หรือปลั๊กอินดูทีละตัวแล้วกลับไปที่หน้าเว็บ แล้วลองกด Refresh หน้าเว็บดู แล้วดูครับว่าเปิดตัวไหน Refresh หน้าเว็บแล้วขึ้น 500 Error ตัวนั้นคือตัวปัญหาครับ ให้จัดการแก้ปัญหาต่อไป อาจลองอัพเกรดไปเวอร์ชั่นใหม่ ลองแก้ไขโค๊ดดูถ้าหากพัฒนาเอง หรือลบทิ้งแล้วหาตัวอื่นมาแทนครับ
ปิด Theme/Plugin บางตัว

บางทีก็ไม่จำเป็นต้องปิดหมดครับ ปิดแค่บางตัวที่เราสงสัย หรือรู้แน่ชัดว่าก่อปัญหาก็พอครับ ทำวิธีเดียวกันครับ คือเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ แต่เป็นโฟลเดอร์ที่อยู่ในโฟลเดอร์ plugins หรือ themes แทนครับเข้าไปในโฟลเดอร์นั้น ๆ หาชื่อ ปลั๊กอิน/ธีม ที่คิดว่าก่อปัญหา แล้วเปลี่ยนชื่อได้เลย WordPress จะหาโฟลเดอร์ไม่เจอและปิดการทำงานครับ
เท่านี้ก็แก้ Connection Timed Out Error ได้แล้ว แต่ถ้ายังไม่หาย…
ลบโฟลเดอร์ wp-admin และ wp-includes ทิ้งและอัพโหลดใหม่

เข้าไปที่โฟลเดอร์ที่เก็บ WordPress ของเราและลบโฟลเดอร์ wp-admin และ wp-includes ออกไปครับ แล้วไปดาวน์โหลดจาก wordpress.org แตกไฟล์และอัพโหลด 2 โฟลเดอร์นั้นขึ้นไปใหม่ครับ
สำคัญคืออย่าเผลอลบ wp-content และ wp-config.php ออกไปนะครับ ถ้าลบออกแล้วปัญหาใหญ่เลย
หรือถ้ายังไม่หายอีก…
เพิ่ม PHP Memory Limit
อันนี้สำหรับท่านที่ใช้เว็บโฮสติ้งทั่วไปสามารถแจ้งทางผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งให้เพิ่มให้ได้นะครับ แจ้งเขาว่า“ผมต้องการเพิ่ม PHP Memory Limit หน่อยครับ เนื่องจากเว็บติด Connection Timed Out เพราะ Memory Limit ไม่พอหลายครั้ง…”
แต่จะเพิ่มได้เท่าไหร่นั้นขึ้นกับนโยบายของผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งนะครับ บางเจ้าให้มาค่าเริ่มต้นเพียง 64MB ซึ่งบางทีไม่พอต่อการใช้งาน สามารถขอเขาเพิ่มให้เป็น 128MB, 256MB หรือถ้าโฮสไหนใจดีหน่อยให้ 512MB (ส่วนใหญ่ไม่มีหรอกครับ มากที่สุดเท่าที่เคยเจออยู่ที่ 256MB) เท่านี้ก็ไม่น่าติดปัญหาอะไรอีกแล้วครับ
แต่ถ้ามี Server เป็นของตัวเอง หรือเช่า VPS ผู้ใช้งานอาจต้องเพิ่มเองครับ โดยแก้ไฟล์ php.ini หา
php_memory_limit
แล้วแก้เอาได้ครับ
แต่ถ้ายังไม่หายอีก… มาหาเราได้เลยครับ MAKE2WEB ยินดีให้บริการ แก้ปัญหาเว็บไซต์
